ฟันแท้ อวัยวะล้ำค่าที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและการออกเสียง ซึ่งนอกจากจะทำให้เราสามารถรับประทานอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อยแล้ว ยังช่วยให้เคี้ยวอาหารได้ละเอียดมากขึ้น แต่หากฟันของเราเกิดความเสียหายจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือฟันผุลึกจนต้องถอนออก หากอยากทำให้ฟันกลับมาสมบูรณ์ครบทุกซี่อีกครั้ง อาจจะต้องอาศัยนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘รากฟันเทียม’ เข้ามาเป็นตัวช่วย
ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกทุกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำรากฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็นข้อดีของรากฟันเทียม รากฟันเทียมเหมาะกับใคร ทำแล้วจะอยู่ได้นานแค่ไหน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนทดแทนฟันธรรมชาติด้วยรากฟันเทียม
Table of Contents:
รากฟันเทียมหรือ Dental Implant มีรูปทรงคล้ายรากฟัน ส่วนปลายเป็นเกลียว ผลิตจากไทเทเนียมซึ่งเป็นโลหะที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ซึ่งข้อดีของรากฟันเทียมไทเทเนียมคือไม่เป็นอันตราย เข้ากันได้ดีกับร่างกายมนุษย์ โดยรากฟันเทียมจะถูกทันตแพทย์ใส่ลงไปในกระดูกเพื่อใช้งานแทนรากฟันแท้ที่สูญเสียไป ทำให้สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติได้มากที่สุด
การทำรากฟันเทียมมีประโยชน์ต่อคนไข้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบดเคี้ยว การออกเสียง สุขอนามัยช่องปาก และการเสริมสร้างความมั่นใจ ซึ่งเราสามารถสรุปข้อดีของรากฟันเทียมให้เห็นภาพได้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้
การทำรากฟันเทียม ทำให้ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ กลับมามีฟันที่ติดแน่นสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติได้อีกครั้ง สามารถทำได้ทั้งผู้ที่สูญเสียฟัน 1 ซี่ หลายซี่ ไปจนถึงผู้ที่สูญเสียฟันทั้งช่องปาก ทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีฟันสวยเรียงเป็นระเบียบ และมีความมั่นใจในรอยยิ้มของตัวเองอีกครั้ง
เป็นข้อดีและเหตุผลหลักที่ทำให้หลายคนตัดสินใจทำรากฟันเทียมเลยก็ว่าได้ เพราะการมีฟันที่แข็งแรง สุขภาพดี ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ย่อมนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งการรับประทานอาหาร ระบบย่อย การออกเสียง ไม่ต้องห่วงว่าจะปวดหรือเสียวฟันหรือฟันปลอมจะขยับและหลุดออกมาอีกด้วย
ข้อดีข้อถัดมา เป็นเรื่องของความแข็งแรง ทนทาน เพราะไทเทเนียมเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง คงทนสูง เมื่อรวมกับเทคนิคของทันตแพทย์ในการฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร จึงสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยหากดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดี ไปพบทันตแพทย์ทำความสะอาดฟันทุก 6 เดือน รากฟันเทียมก็สามารถใช้ได้นานกว่า 20 ปีเลยทีเดียว
เป็นที่ทราบกันดีว่าฟันของเรานั้น หากรักษาความสะอาดไม่ดี ก็มีโอกาสทำให้ฟันผุ หรือเป็นโรคเหงือก และมีกลิ่นปากได้ตลอดเวลา แต่การทำรากฟันเทียมแทนการทำสะพานฟันบนฟันธรรมชาติที่ยึดฟันเข้าด้วยกัน จะทำให้ดูแลความสะอาดได้ง่ายกว่า เนื่องจากทุกซี่ จะเป็นซี่เดี่ยวๆ ไม่ต้องยึดติดเข้าด้วยกัน สามารถใช้ไหมขัดฟันเข้าไปทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ไม่ต้องร้อยเข้าไปข้างใต้สะพานฟัน
ข้อดีของรากฟันเทียมข้อสุดท้าย คือช่วยชะลอและป้องกันการยุบตัวของกระดูกที่ทำหน้าที่รองรับฟันอยู่ รวมทั้งไม่ต้องกรอฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเหมือนกับการทำสะพานฟัน จึงลดโอกาสที่สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงโดยไม่จำเป็น
จากข้อดีของรากฟันเทียมที่มีอยู่หลากหลายประการ เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มสนใจการทดแทนฟันธรรมชาติด้วยวิธีนี้แล้ว แต่อาจยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าแล้วการทำรากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง คำตอบคือโดยทั่วไปแล้ว ทันตกรรมรากฟันเทียมสามารถทำได้ในบุคคลทั่วไปที่อายุเกิน 18 ปี เนื่องจากผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี กระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ จึงไม่สามารถฝังรากเทียมลงไปได้ โดยจะเหมาะกับกลุ่มคนเหล่านี้มากเป็นพิเศษ
สำหรับผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม นอกจากกลุ่มที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีแล้ว ยังได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเหงือกอักเสบขั้นรุนแรง โรคลูคีเมีย ทานยาหรือฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุนบางชนิด ที่ทำให้มีภาวะกระดูกไม่แข็งแรง โรคที่เสี่ยงต่ออาการแผลหายช้าอย่างโรคเบาหวานในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป็นต้น
อยากทำรากเทียมราคามิตรภาพและปลอดภัย รักษาโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีประสบการณ์สูง เลือกคลินิกทันตแพทย์สว่าง คลินิกทันตกรรมอันดับ 1 ในย่านรังสิตและปทุมธานี ให้บริการทำรากฟันเทียมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล ดูแลคุณอย่างใกล้ชิดโดยอาจารย์ด้านการทำรากฟันเทียมจากสหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองโดยสภาทันตแพทย์สหรัฐอเมริกาและเป็นทันตแพทย์ที่ได้อเมริกันบอร์ด 2 ใบเพียงคนเดียวในทวีปเอเชียแปซิฟิก พร้อมบริการรับประกันรากฟันเทียมหลังการรักษา 5 ปี (เงื่อนไขตามที่คลินิกกำหนด) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองคิวเข้ารับบริการได้ทาง LINE Official @swcdental (มี @ ด้วย) หรือ โทร. 064-465-0565 เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00-20.00 น.
ข้อมูลอ้างอิง:
ทันตกรรมรากเทียม. รศ.ดร.ทพ.ชูชัย อนันต์มานะ ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://dt.mahidol.ac.th/ทันตกรรมรากเทียม-2/