รากฟันเทียมคืออะไร วางแผนรักษากับคลินิกรากฟันเทียมอย่างไร?

ด้วยหลากหลายปัจจัย ทั้งอายุที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิต อาจทำให้เกิดความเสียหายกับฟันแต่ละซี่ได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อรักษาทั้งความมั่นใจ คุณภาพการใช้ชีวิต และสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง การทดแทนฟันที่เสียหายไปด้วยการทำรากฟันเทียมจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ควรค่าแก่การพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง 

แล้วรากฟันเทียมคืออะไร มีกี่แบบ? รวมถึงควรวางแผนการรักษาและเลือกคลินิกรากฟันเทียมอย่างไรให้ตอบโจทย์ มาไขทุกข้อสงสัยพร้อมกันได้ในบทความนี้

รากฟันเทียมคืออะไร มีกี่แบบ

รู้จัก ‘รากฟันเทียม’ ให้มากขึ้น

ฟันแต่ละซี่ ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับรอยยิ้ม และช่วยให้สามารถออกเสียงได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้ส่งผลดีต่อระบบย่อย จึงช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาวได้   

ด้วยเหตุนี้ เมื่อฟันแต่ละซี่เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการแตกหัก หลุดร่วง หรือเกิดการติดเชื้อจนทำให้ต้องสูญเสียฟัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่น ๆ ตามมา ทำให้เราต้องหาวิธีรักษาด้วยการทดแทนฟันที่หายไปให้ใช้งานได้เป็นปกติ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกเช่นเดิม

สำหรับการรักษารากฟันเทียมนั้น คือการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญหายและเสียหายจากสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งยังช่วยให้สามารถบดเคี้ยวและรับประทานอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบและหลักการทำงานของรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม คือ การสร้างฟันซี่ใหม่ที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมฟันแท้ มีโครงสร้าง 3 ส่วนหลัก ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  1. รากเทียม (Fixture) เป็นรากไทเทเนียมลักษณะคล้ายสกรู มีหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกขากรรไกรและส่วนทดแทนฟัน ทำมาจากวัสดุไทเทเนียมพิเศษ มีอายุการใช้งานนาน 10 – 20 ปี ถ้าใช้งานและดูแลทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เนื่องจากเป็นไทเทียมสำหรับงานทันตกรรมโดยเฉพาะ จึงทำให้สามารถเข้ากับเนื้อเยื่อกระดูกบริเวณเหงือกและฟันได้ ทั้งยังทนต่อแรงบดเคี้ยวได้เป็นอย่างดี 
  2. แกนฟัน (Abutment) เป็นโครงสร้างส่วนกลางที่เชื่อมระหว่างรากเทียมและครอบฟันเข้าไว้ด้วยกัน
  3. ครอบฟัน (Crown) เป็นขั้นตอนการบูรณะฟันให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหลายวัสดุให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม ตั้งแต่เซรามิกที่สีคล้ายฟัน ไปจนถึงการครอบฟันด้วยวัสดุโลหะที่มีความแข็งแรงสูง (ศึกษาการครอบฟันเพิ่มเติมได้ในบทความนี้)

รากฟันเทียมมีกี่แบบ?

การแบ่งประเภทการรักษารากฟันเทียมสามารถทำได้หลายวิธี แต่โดยพื้นฐานแล้ว การรักษารากฟันเทียมจะมีด้วยกัน 3 ประเภทหลัก ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ทำรากฟันเทียมซี่เดียว เป็นการรักษารากฟันเทียมที่เสียหายเพียง 1 ซี่ โดยทันตแพทย์จะทำการใส่รากฟันเทียมที่บริเวณฟันที่หายไป จากนั้นจึงใส่แกนฟันและบูรณะด้วยการครอบฟันต่อไป
  2. ทำสะพานฟันบนรากเทียม เป็นการรักษารากฟันเทียมในฟันที่หายไปพร้อมกันหลายซี่ สามารถทำเป็นสะพานฟันบนรากเทียมได้ เช่น ในกรณีที่สูญเสียฟัน 3 ซี่ติดกันขึ้นไป ทันตแพทย์จะทำการใส่รากฟันเทียมร่วมกับการทำสะพานฟัน โดยการฝังรากฟันเทียมที่ฟันซี่ด้านหน้าและซี่สุดท้ายของช่องว่างที่ฟันหายไป จากนั้นจึงใช้สะพานฟันยึดรากเทียมด้านหน้าและหลังเข้าด้วยกัน เพื่อทดแทนฟันที่หายไปหลายๆซี่
  3. ทำรากฟันเทียมทั้งปาก เป็นการรักษาในกรณีที่มีการสูญเสียฟันไปทั้งหมดในช่องปาก  โดยการฝังรากฟันเทียมให้ครบทุกซี่ฟันที่หายไปอาจมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทันตแพทย์สามารถใส่รากเทียมจำนวน 4-6 ราก แล้วทำสะพานฟันติดแน่นทั้งปากยึดบนรากเทียม (All on 4 หรือ All on 6) เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงได้  หรือทันตแพทย์อาจแนะนำการรักษารากฟันเทียมยึดกับ ฟันปลอมถอดได้ ในกรณีที่ต้องการฟันปลอมที่ใช้งานได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถทำเป็นแบบติดแน่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าได้
คลินิกรากฟันเทียมที่ไหนดี

5 ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม

หลังจากที่ทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า รากฟันเทียมคืออะไรและมีกี่แบบในการรักษา แต่ใครที่กำลังสงสัยว่า คลินิกรากฟันเทียมจะวางแผนการรักษาในแต่ละเคสอย่างไร มีรายละเอียดส่วนไหนที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษบ้าง ลองมาทำความรู้จักกับ 5 ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: เอกซเรย์ฟันและวางแผนการรักษา

ประสิทธิภาพในการรักษารากฟันเทียมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพและปริมาณกระดูกของผู้ที่เข้ารับการรักษา ดังนั้น หลังจากที่ประเมินปัจจัยด้านสุขภาพ ประวัติในการเป็นโรคต่าง ๆ แล้ว ทันตแพทย์จะทำการเอกซเรย์เพื่อใช้วางแผนการรักษา

ขั้นตอนที่ 2: ปลูกถ่ายกระดูก

หลังจากที่เอกซเรย์ ทันตแพทย์จะพิจารณาถึงความหนาและบางของกระดูกขากรรไกรในบริเวณที่ต้องการ ฝังรากฟันเทียม โดยหากกระดูกมีความบางเกินไปที่จะใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์จะทำการปลูกถ่ายกระดูก หรือ ทำ Bone Graft เพื่อช่วยให้รากฟันเทียมมีกระดูกล้อมรอบทั้งหมดเพื่อการยึดเกาะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการเกิดปัญหาเหงือกอักเสบในอนาคต ซึ่งโดยปกติแล้วที่คลินิกทันตแพทย์สว่าง เราจะทำการฝังรากฟันเทียมพร้อมกับการปลูกกระดูกในครั้งเดียวกัน ทำให้คนไข้ทำการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว ลดระยะเวลาในการรักษาลง ได้ฟันจริงเพื่อบดเคี้ยวเร็วขึ้น และที่สำคัญคือแผลเล็ก เจ็บน้อย

ขั้นตอนที่ 3: ฝังรากเทียม

ทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูกพร้อมกับการฝังรากฟันเทียม ในขั้นตอนนี้ หลังจากที่ยาชาออกฤทธิ์แล้ว ทันตแพทย์จะผ่าตัดเหงือก ใส่กระดูก,ฝังรากฟันเทียมลงไปที่กระดูกขากรรไกร จากนั้นจึงใช้ Healing Cap ซึ่งเป็นโลหะรูปทรงกรวยครอบลงไปที่รากฟัน สุดท้ายจึงเย็บปิดแผล

หลังจากที่รากเทียมผสานตัวเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อรอบเหงือกแล้ว ทันตแพทย์จะทำการนัดมาติดตั้งครอบฟัน โดยส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนนี้จะรอเวลา 2 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากและการฟื้นตัวของคนไข้ ในระหว่างที่รอติดตั้งครอบฟันนี้ คนไข้จะต้องรักษารากฟันเทียมให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อและเพื่อป้องกันไม่ให้รากฟันเทียมเกิดการกระทบกระเทือน

ขั้นตอนที่ 4: ติดตั้งครอบฟัน

อย่างที่กล่าวไปว่า การรักษารากฟันเทียม คือ การติดตั้งฟันซี่ใหม่ให้กับบริเวณที่มีการสูญเสียฟัน ดังนั้น หลังจากที่รากฟันผสานเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อแล้ว ทันตแพทย์จะนัดมาพิมพ์ฟันและสั่งผลิตครอบฟัน จากนั้น 1  สัปดาห์จึงทำการติดตั้งครอบฟันตามวัสดุที่ได้ทำการเลือกเอาไว้

เมื่อครอบฟันเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทันตแพทย์จะทำการติดตั้งแกนฟัน (Abutment) ที่บริเวณรากเทียม จากนั้นจึงยึดครอบฟัน เข้ากับแกนฟัน เท่านี้ก็จะได้ฟันซี่ใหม่ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับฟันแท้และตอบโจทย์คุณภาพชีวิตเป็นที่เรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 5: ตามผลการรักษา

เมื่อทำครอบฟันเสร็จเรียบร้อย คลินิกรากฟันเทียมจะทำการนัดตามผลการรักษา 1 อาทิตย์แรกหลังจากยึดครอบฟัน จากนั้นจึงนัดตรวจสภาพของรากฟันเทียม และเอ็กซเรย์เป็นประจำทุกปีเพื่อดูความเสียหายและอาการข้างเคียงอื่น ๆ ต่อไป

การเตรียมตัวรักษารากฟันเทียม

ก่อนรักษารากฟันเทียม

การรักษารากฟันเทียม คือ การผ่าตัดรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ก่อนที่จะเข้ารับการติดตั้งรากฟันเทียม ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 1 มื้อก่อนการใส่รากฟันเทียม

หลังรักษารากฟันเทียม

เมื่อผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย อย่าลืมประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมหลังผ่าตัด อีกทั้งยังควรงดเว้นการรับประทานอาหารรสจัดและอาหารที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวสูง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบของแผล 

นอกจากนี้ คนไข้ยังควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ 3 – 4 ครั้ง/วัน งดการสูบบุหรี่จนกว่าแผลจะหายดี และควรสังเกตแผลรากฟันเทียมเป็นประจำ หากพบอาการผิดปกติ แนะนำให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที

ถาม-ตอบ 3 คำถามยอดฮิตของการรักษารากฟันเทียม

1. จัดฟันอยู่ รักษารากฟันเทียมได้ไหม?

คำตอบ: คนไข้ควรจัดฟันให้เสร็จเรียบร้อยและทำการถอดเครื่องมือก่อน จากนั้นจึงวางแผนการรักษารากฟันเทียมต่อได้ เนื่องจากรากฟันเทียมเป็นวัสดุที่ติดกับกระดูกขากรรไกรถาวร จึงไม่สามารถใช้เครื่องมือจัดฟันขยับรากฟันเทียมได้เหมือนฟันตามธรรมชาติ

2. การทำรากฟันเทียมมีความเสี่ยงหรือไม่?

คำตอบ: การทำรากฟันเทียมโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย 

อย่างไรก็ดี การรักษารากฟันเทียมไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้ต้องทานยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อหยุดยาก่อน การรักษา

3. เนื้อกระดูกไม่เพียงพอ ทำรากฟันเทียมได้หรือเปล่า?

คำตอบ: หากเนื้อกระดูกขากรรไกรบาง อ่อนตัว หรือมีภาวะละลายของกระดูกอยู่ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการปลูกกระดูกร่วมด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถปลูกกระดูกพร้อมกับผ่าตัดใส่รากเทียมได้ในครั้งเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า การรักษารากฟันเทียมเป็นหนึ่งในการรักษาที่มีความซับซ้อน ทั้งยังต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญในการประเมินและวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ 

คลินิกรากฟันเทียม ทันตแพทย์สว่างเป็นคลินิกรักษารากฟันเทียมที่ดีที่สุดใน ย่าน รังสิต ปทุมธานี คลองหลวงที่ให้บริการรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทางระดับอาจารย์ประสบการณ์กว่า 40 ปี ทั้งยังเป็นทันตแพทย์คนเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสภาทันตแพทย์สหรัฐอเมริกา และเป็นทันตแพทย์เพียงหนึ่งเดียวในเอเชียแปซิฟิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใส่ฟันและรากฟันเทียม พร้อมมีการรับประกันฟันเทียมนานถึง 5 ปี มั่นใจในผลลัพธ์และประสิทธิภาพการรักษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Line : @swcdental (มี @ ด้วย ) หรือ โทร. 064-465-0565